เมนู

เทวดาและมนุษย์นั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลถามปัญหา.
ก็พระสูตรเหล่าใดอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเทวดาและมนุษย์ทูลถามแล้วตรัส
อย่างนี้ มีเทวดาสังยุตและโพชฌงคสังยุตเป็นต้น. เหตุตั้งสูตรเหล่านั้น ชื่อว่า
เนื่องด้วยมีการทูลถาม.
อนึ่งเล่า พระสูตรเหล่าใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาศัย
เหตุที่เกิดขึ้น มีธัมมทายาทสูตรและปุตตมังสูปมสูตรเป็นต้น เหตุตั้งสูตรเหล่า
นั้น ชื่อว่า เนื่องด้วยมีเรื่องเกิดขึ้น. บรรดาเหตุดังพระสูตรทั้ง 4 อย่างนี้
เหตุตั้งพุทธวงศ์นี้เป็นเหตุที่เนื่องด้วยมีการทูลถาม. จริงอยู่ พุทธวงศ์นี้พระผู้มี
พระภาคเจ้ายกตั้งไว้ ก็โดยการถามของใคร. ของท่านพระสารีบุตรเถระ. สม
จริงดังที่ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ในนิทานนั้นว่า
ท่านพระสารีบุตร ผู้มีปัญญามาก ผู้ฉลาดใน
สมาธิและญาณ ผู้บรรลุสาวกบารมีด้วยปัญญา ทูลถาม
พระผู้นำโลกว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้สูงสุดแห่งนรชน
อภินีหารของพระองค์เป็นเช่นไร

ดังนี้เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พุทธวงศ์เทศนานี้ พึงทราบว่า เนื่อง
ด้วยมีการทูลถาม.

ในคำว่า กปฺเป จ สตสหสฺเส นี้ ในคาถานั้น กัป ศัพท์นี้ ใช้ใน
อรรถทั้งหลายมีความเชื่อมั่น โวหาร กาล บัญญัติ ตัดแต่ง กำหนด เลศ
โดยรอบ อายุกัปและมหากัปเป็นต้น.
จริงอย่างนั้น

กัป ศัพท์

ใช้ในอรรถว่า เชื่อมั่น ได้ในประโยคทั้งหลาย
เป็นต้นว่า โอกปฺปนียเมตํ โภโต โคตมสฺส ยถา ตํ อรหโต สมฺมา-
สมฺพุทฺธสฺส
ข้อนี้พึงเชื่อมั่นต่อท่านพระโคดมเหมือนอย่างพระอรหันตสัมมา
สัมพุทธเจ้า.

ใช้ในอรรถว่า โวหาร ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อนุชานามิ
ภิกฺขเว ปญฺจทิ สมณกปฺเปหิ ผลํ ปริภุญฺชิตุํ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ฉันผลไม้ด้วยสมณโวหาร 5 อย่าง.
ใช้ในอรรถว่า กาล ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เยน สุทํ นิจฺจกปฺปํ
วิหรามิ
เขาว่า เราจะอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยเหตุใด.
ใช้ในอรรถว่า บัญญัติ ได้ในประโยคทั้งหลายเป็นต้นว่า อิจฺจายสฺมา
กปฺโป
ท่านกัปปะและว่า นิโคฺรธกปฺโป อิติ ตสฺส นามํ, ตยา กถํ
ภควา พฺราหฺมณสฺส
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อของเขาว่า นิโครธกัปปะ
พระองค์ก็ทรงตั้งให้แก่พราหมณ์.
ใช้ในอรรถว่า ตัดแต่ง ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อลงฺกโต กปฺปิต-
เกสมสฺสุ
แต่งตัวแล้ว ตัดแต่งผมและหนวดแล้ว.
ใช้ในอรรถว่า กำหนด ได้ในประโยคเป็นต้นว่า กปฺปติ ทฺวงฺคุล-
กปฺโป
กำหนดว่ากาลเดิมสองนิ้ว ย่อมควร.
ใช้ในอรรถว่า เลศ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า อตฺถิ กปฺโป นิปชฺชิตุํ
มีเลศที่จะนอน.
ใช้ในอรรถว่า โดยรอบ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เกวลกปฺปํ
เชตวนํ โอภาเสตฺวา ส่องสว่างรอบพระเชตวันทั้งสิ้น.
ใช้ในอรรถว่า อายุกัป ได้ในบาลีนี้ว่า ติฏฺฐตุ ภนฺเต ภควา
กปฺปํ, ติฏฺฐตุ ภนฺเต สุคโต กปฺปํ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า โปรดทรงดำรงอยู่ตลอดอายุกัป ขอพระสุคตโปรดทรงดำรงอยู่ตลอด
อายุกัปเถิด พระเจ้าข้า. .

ใช้ในอรรถว่า มหากัป ได้ในบาลีนี้ว่า กีว ทีโฆ นุ โข ภนฺเต
กปฺโป
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหากัปยาวเพียงไรหนอ. โดย อาทิศัพท์ กัป
ศัพท์ ใช้ในอรรถว่า เทียบเคียง ได้ในบาลีนี้ว่า สตฺถุ กปฺเปน วต กิร
โภ มยํ สาวเกน สทฺธึ มนฺตยมานา น ชานิมฺห.
ท่านผู้เจริญ เขาว่า
เมื่อเทียบเคียงกับพระศาสดา พวกเราปรึกษากับสาวกก็ไม่รู้.
ใช้ในอรรถว่า ควรแก่วินัย ได้ในบาลีนี้ว่า กปฺโป นฏฺโฐ โหติ
กปฺป กโตกาโส ชิณฺโณ โหติ
ความสมควรแก่วินัย ก็เสียไป โอกาสที่จะ
ทำให้สมควรแก่วินัย ก็เก่าไป. แต่ในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า มหากัป.
เพราะฉะนั้น. บทว่า กปฺเปจ สตสหสฺเส จึงมีความว่า แห่งแสนมหากัป.
ในคำว่า จตุโร จ อสงฺขิเย พึงเห็นว่าต้องเติมคำที่เหลือว่า จตุนฺนํ
อสงฺเขยฺยานํ มตฺถเก
ความว่า ในที่สุดแห่งสี่อสงไขย กำไรแสนกัป.
บทว่า อมรํ นาม นครํ ได้แก่ ได้เป็นนครอันได้นามว่า อมร และอมรวดี
แต่ในคำนี้ อาจารย์บางพวกพรรณนาเป็นประการอื่นไป, จะต้องการอะไรกับ
อาจารย์พวกนั้น . ก็คำนี้เป็นเพียงนามของนครนั้น. บทว่า ทสฺสเนยฺยํ ได้แก่
ชื่อว่างามน่าดู เพราะประดับด้วยที่อยู่คือปราสาททิมแถวล้อมด้วยประการมีทาง
4 แพร่ง 3 แพร่ง มีประตูมีสนามงาม จัดแบ่งเป็นส่วนสัดอย่างดี. บทว่า
มโนรมํ ได้แก่ ชื่อว่า น่ารื่นรมย์ เพราะทำใจของเทวดาและมนุษย์เป็นต้นให้
รื่นรมย์ เพราะเป็นนครมีภูมิภาคที่เรียบสะอาดน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง เพราะเป็น
นครที่พรั่งพร้อมด้วยร่มเงาและน้ำ เพราะเป็นนครที่มีอาหารหาได้ง่าย เพราะ
เป็นนครที่ประกอบด้วยเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง และเพราะเป็นนครที่มั่งคั่ง.
ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺตํ ความว่า พระนครไม่ว่างเว้นจากเสียง
10 อย่าง คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงตะโพน

เสียงพิณ เสียงขับ เสียงดนตรีไม้ เสียงเชิญบริโภคอาหารที่ครบ 10. นัก
ฟ้อนรำงานฉลอง งานมหรสพหาที่เปรียบมิได้ ก็เล่นกันได้ทุกเวลา. บทว่า
อนฺนปานสมายุตํ ได้แก่ ประกอบด้วยข้าวคืออาหาร 4 อย่างและน้ำดีชื่อว่า
อันนปานสมายุต. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงว่านครนั้นหาอาหารได้สะดวก. อธิบาย
ว่า พรั่งพร้อมแล้วด้วยข้าวและน้ำเป็นอันมาก.
บัดนี้ เพื่อแสดงเสียงเหล่านั้น โดยวัตถุจึงตรัสว่า
อมรวดีนคร กึกก้องด้วยเสียงช้าง ม้า กลอง
สังข์ รถ เสียงเชิญบริโภคอาหารด้วยข้าวและน้ำ.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถิสทฺทํ ได้แก่ ด้วยเสียงโกญจนาทของ
ช้างทั้งหลาย. คำนี้พึงเห็นว่าทุติยาวิภัตติลงในอรรถตติยาวิภัตติ. แม้ในบทที่
เหลือก็นัยนี้. บทว่า เภริสงฺขรถานิ จ ความว่า ด้วยเสียงกลอง เสียงสังข์
และเสียงรถ. ท่านกล่าวเป็นลิงควิปลาส. อธิบายว่า อึกทึกกึกก้องด้วยเสียงที่
เป็นไปอย่างนี้ว่า กินกันจ้ะ ดื่มกันจ้ะ เป็นต้น ประกอบพร้อมด้วยข้าวและน้ำ
ผู้ทักท้วงกล่าวในข้อนี้ว่า เสียงเหล่านั้น ท่านแสดงไว้แต่เอกเทศเท่านั้น ไม่
ได้แสดงไว้ทั้งหมด หรือ. ตอบว่า ไม่ใช่แสดงไว้แต่เอกเทศ แสดงไว้หมด
ทั้ง 10 เสียงเลย. อย่างไรเล่า. ท่านแสดงไว้ 10 เสียง คือ เสียงตะโพน
ท่านสงเคราะห์ด้วยเสียงกลอง เสียงพิณเสียงขับกล่อมและเสียงดนตรีไม้
สงเคราะห์ด้วยเสียงสังข์.
ครั้นทรงพรรณนาสมบัติของนครโดยปริยายหนึ่งอย่างนี้แล้ว เพื่อ
แสดงสมบัตินั้นอีก จึงตรัสว่า